บริการให้คำปรึกษาการเปิดร้านอาหารในอเมริกา

 

 

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจร้านอาหารไทยเป็นหนึ่งธุรกิจที่คนไทยนิยมมาลงทุนกันเป็นอันดับต้นๆ ในอเมริกา อาหารไทยถือได้ว่าเป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมในอเมริกาทำให้ร้านอาหารไทยหลายต่อหลายแห่งทั่วอเมริกาต่างประสบความสำเร็จ แต่หากว่ามีร้านอาหารไทยในอมเริกาจำนวนไม่น้อยที่ต้องปิดตัวลงเพราะหลายๆ ปัจจัย หนึ่งในนั้นคือการขาดประสบการณ์การบริหารและขาดความรู้

 

วันนี้ทางศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในสหรัฐฯ จึงอยากนำขั้นตอนการเริ่มต้นลงทุนทำธุรกิจร้านอาหารไทยในสหรัฐฯ มาให้ความรู้แก่ทุกท่าน โดยบทความนี้เขียนขึ้นโดยคุณแหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ของสหรัฐอเมริกา และเจ้าของบริษัท Thai USA Accounting 

 

ภาพรวมในการเริ่มดำเนินธุรกิจครั้งแรกจะคล้ายกัน แต่จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ  บทความนี้ขอเข้าไปลึกนิดหนึ่งในกรณีที่เราต้องการเป็นเจ้าของกิจการร้านอาหารไทย โดยเฉพาะนักลงทุนไทยที่ต้องการมาลงทุนในอเมริกาหรือบุคคลที่สนใจทั่วไปที่สนใจจะเปิดกิจการเป็นของตัวเอง

 

การจะเปิดร้านอาหารนั้น ถ้าเคยมีประสบการณ์ในการบริหารร้านอาหาร การทำงานในร้านอาหาร ในประเทศนี้จะช่วยให้การดำเนินการง่ายขึ้นคะ อย่างน้อยคุณก็ได้สัมผัส ถึงเบื้องหน้าและเบื้องหลังมาก่อน

 

ถ้าไม่มีประสบการณ์อะไรเลยสักนิด เคยทำแต่ธุรกิจประเภทอื่น ๆ มาแล้วอยากเปิดร้านอาหารควรทำยังไง?

 

1.) Choosing State, รัฐไหนที่คุณจะเปิดร้านอาหาร

ข้อนี้สำคัญคะ เพราะคุณควรจดทะเบียนในรัฐที่คุณจะเปิดร้าน ถ้าเป็นไปได้ จดทะเบียนที่ร้านที่คุณจะเปิดแต่ไม่จำเป็น คุณสามารถใช้ที่อยู่ที่ไหนก็ได้ในการจดทะเบียนบริษัท เพื่อประกอบกิจการ คุณสามารถจดทะเบียนต่างรัฐได้แต่ยังไงคุณต้องไปลงทะเบียนเพื่อทำธุรกิจในรัฐที่คุณจะทำการเปิดกิจการอยู่ดี ทำให้งานเพิ่มมากขึ้น

 

2.) Type of Business Entity เลือกรูปแบบของกิจการ

ขอแนะนำรูปแบบที่นิยมในการจดทะเบียน ซึ่งมีสองแบบค่ะ เลือกให้เหมาะสมกับธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งทั้งสองแบบมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป กรณีคุณเป็นนักลงทุนจากประเทศไทย คุณสามารถเลือกได้เช่นกัน เพราะการจัดตั้งบริษัทแบบนี้ทางรัฐบาลท้องถิ่นอนุญาตให้ต่างชาติจดทะเบียนได้

 

2.1) Limited Liability Company (LLC)

ถ้าคุณเป็นซิติเซ่นหรือกรีนการ์ด ไม่มีการร่วมลงทุนกับคนต่างประเทศ เช่นคนไทยที่ถือวีซ่าประเภทอื่นๆ คุณจดแบบนี้จะง่าย แล้วเรียกที่จะเสียภาษีแบบ Small Corporation (S-Corp) 

 

2.2) Corporation (Inc., Corp. Incorporated., etc., ขึ้นอยู่กับเสตท)

ถ้าคุณเป็นนักลงทุนจากประเทศไทยและร่วมลงทุนกับญาติพี่น้องเพื่อนฝูงที่อเมริกา แนะนำให้จดแบบ Corporation เพราะถ้ามีต่างชาติร่วมลงทุน คุณไม่สามารถจะยื่นภาษีแบบ S-Corp ได้ มีผลทำให้คนที่นี่ต้องจ่าย self- employment at 15% from Net Income

 

เจ้าของกิจการร้านอาหารที่นี่บางท่านทราบจุดนี้ดี จากประสบการณ์ยังไม่หลายๆ ท่านที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย CPA or Lawyer จัดการให้หมด

 

ข้อเสียของการจดแบบ corporation คือ double tax กรณีที่มีการจ่ายปันผล นึกถึงบ้านเราบริษัทมีหน้าที่จ่ายภาษีจากำไร พอจ่ายปันผลผู้ถือหุ้นถึงมาเสียเหมือนกันเลย แต่คุณต้องวางแผนในการจ่ายปันผล ไม่จำเป็นไม่ต้องจ่ายเอาไว้ขยายร้านและลงทุนต่อ ถ้าคุณอยากใช้เงินจากร้าน คุณรับเป็นเงินเดือนไป รับโบนัสไปไม่มีใครว่า และคุณไม่ต้องมากังวลเรื่องการจ่ายเงินปันผล

 

2.3) Doing Business As (DBA) จะทำเบียนชื่อร้าน

คุณต้องขออนุญาตจากทางเสตทโดยการจด DBA กรณีที่ชื่อหน้าร้านอาหารไม่ตรงกับ ชื่อบริษัทที่จดทะเบียน เช่น ชื่อบริษัท ABC, ร้านชื่อ “อร่อยมาก” ถ้าอยากประหยัดเวลาทำงานขั้นตอนเดียวจบ ให้จดบริษัทตรงกับชื่อร้าน สะดวกที่สุด

 

3.) Federal Employer Identification Number (FEIN)

หลังจากจดทะเบียนเรียบแล้ว ให้ขอเลขประจำตัวนายจ้างกับ the IRS เรียกว่า Federal Employer Identification Number (FEIN) สามารถขอออนไลน์ได้หรือไม่ก็ส่งฟอร์มกลับไปที่ the IRS.

 

4.) Open business banking & Opening Merchant Account for Credit Cards

เปิดบัญชีธนาคารในนามของกิจการแนะนำให้เปิดกับธนาคารที่คุณเป็นลูกค้าประจำ เพราะจะได้สะดวกรวดเร็วกรณีที่คุณเป็นนักลงทุนมาจากประเทศไทย คุณไปเปิดธนาคารที่ใกล้ร้าน ขอธนาคารมีชื่อหน่อยจะได้ทำธุรกรรมออนไลน์ได้สะดวกทุกที่ทุกแหล่ง เอกสารที่ใช้ก็ทุกอย่างเกี่ยวกับกิจการที่กล่าวถึงมาข้อ 1 ถึง ข้อ 3 และคุณก็ไปเสนอหน้าพร้อมรอยยิ้ม

 

งานนี้คุณก็มีบัญชีธนาคารของร้านแล้ว ต่อไปจะซื้อจะจ่ายอะไรให้ใช้เงินของร้าน พยายามอย่าใช้จากส่วนตัวให้นำเงินส่วนตัวฝากเข้าบัญชีร้านเพราะยังไงคุณต้องลงทุน

 

ส่วนใหญ่ทุกธนาคารจะมีบริการเรื่องการรับเงินจากลูกค้าด้วยบัตรเครดิต ควรจะสอบถามไปด้วย ถ้าคุณไม่สนใจใช้บริการของร้าน จะมีบริษัทที่นำเสนอเยอะแยะ คุณสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตราบใดที่คุณไม่เซ็นสัญญาระยะยาวกับที่ใดที่หนึ่ง กว่าร้านจะเปิดบริการให้หาข้อมูลจากหลายๆ แหล่งเพื่อจะได้ตัดสินใจไม่พลาด แนะนำให้ใช้บริการของธนาคารที่เรามีบัญชีค่าบริการอาจจะแพงหน่อยแต่สะดวกกรณีที่คุณไม่มีเวลาหาบริษัทอื่นๆ

 

5.) Location มองหาทำเลที่จะเปิดพร้อม ๆ กับ ข้อ 1.) ในรัฐที่คุณจะเปิดร้าน

เลือกทำเลที่มีคนขาวเยอะๆ (ปล.ไม่ได้เหยียดผิว) เพราะกลุ่มนี้กำลังซื้อสูงมากและร้านจะปลอดภัยเพราะร้านจะอยู่ในทำเลที่ดี ค่าเช่าจะแพง คุณตั้งเมนูราคาแพงได้ (จากประสบการณ์ที่ทำงบการเงินให้ลูกค้าร้านอาหาร) ดูว่ามีที่จอดรถสะดวกหรือเปล่า เป็นแหล่งธุรกิจไหมหรือแหล่งที่อยู่อาศัย

 

อยากรู้ว่าเมืองนี้รหัสไปรษณีย์นี้มีประชากรเท่าไร อย่างไร เช็คได้จากเว็บนี้ City Data

 

หลายๆ ท่านที่รู้จักอยากมาลงทุนเพราะต้องการให้ลูกๆ ได้เรียนต่อที่นี่ คุณก็ค้นหา โรงเรียนดีๆได้จาก รหัสไปรณษีย์ตามเว็บไซด์ที่ขายอสังหาต่างๆ เช่น Zillow, Realtor, google

 

5.1) Lease agreement สัญญาเช่าร้านอาหาร

พิจารณาค่าเช่าต่อปี ต่อเดือน ทำสัญญากี่ปีเราต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง เช่น ให้ดูอัตรา Property Tax ของเมืองที่จะไปเปิดร้านโดยทั่วไป ควรจะศึกษาพวก Double Net/ Triple Net ว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร คือแลนด์ลอด บางที่คิดค่าเช่าโดยที่ไม่รวมภาษีอาคาร บางที่รวมอัตราภาษีไปแล้วซึ่งจะแพงหน่อย ให้เราพิจารณาเป็นจุด ๆ ไป ทุกอย่างต่อรองได้ เช่นขอฟรี3 เดือนเพื่อสร้างร้าน หรือขอให้แลนลอร์ดลดค่าเช่าให้ปีแรก หรือให้แลนลอร์ดช่วยจ่ายค่าปรับปรุงร้านครึ่งหนึ่งหรือให้แลนลอร์ดจ่ายให้ทั้งหมดกรณีเจอคนใจดี เจอมาแล้ว

 

ข้อควรทราบคือ ค่าเช่าส่วนใหญ่จะขึ้นทุกปีไม่เกิน 3% ของอัตราค่าเช่าเหมือนกับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ

 

5.2) Leasehold Improvements  การปรับปรุงร้าน

ร้านที่เราจะไปลงทุนแบบไหน แบบที่ตกแต่ง เรียบร้อย (กรณีไปซื้อร้านอาหารไทยเดิม) หรือ ร้านไม่มีอะไรเลย เป็นห้องเปล่า ๆ หรือ เป็นร้านอาหารประเภทอื่น ๆ ที่เราจะมาดัดแปลงเป็นร้านอาหารไทย

 

ที่กล่าวมาคือ จะโยงกับทุนที่คุณมีเพราะการที่คุณจะทำร้านใหม่ ตกแต่งอุปกรณ์ใหม่ๆ คุณต้องตรวจสอบระเบียบของเมือง กรณีที่คุณต้องทำใหม่หมดเลยเพราะมีแค่ห้องเปล่า ๆ คุณจะใช้เงินลงทุนสูงพอสมควร ที่สำคัญต้องหาผู้รับเหมาหรือสถาปนิกที่ไว้ใจได้ เข้าไปประเมินค่าก่อสร้างต่อเติมและผู้รับเหมา ส่วนใหญ่คุณควรเลือกคนที่มีลายเซ่นถูกต้องในการก่อสร้าง เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่สำคัญเขาต้องมีประกันด้วยค่ะ เผื่อมีการบาดเจ็บ เกิดขึ้น คุณในฐานะเจ้าของร้านจะได้ไม่ต้องรับผิดชอบก่อนทำสัญญาคุณสามารถขอเอกสาต่าง ๆ เหล่านี้กับผู้รับเหมาได้ควรจะมีผู้รับเหมามาประเมินอย่างน้อยสามราย กรณีที่เราไม่รู้จักเป็นการส่วนตัว เพราะคุณจะได้ทราบว่าเขาจะทำอะไรให้ได้บ้าง เราทำอะไรเองได้บ้าง การเลือกราคาอย่าเลือกที่ถูกที่สุด เพราะที่อเมริกาไม่มีของฟรีแต่ดี แต่ไม่ต้องถึงกับเลือกแบบที่แพงที่สุด

 

การต่อเติมตกแต่ง อาคารนั้น มีกฏหมายด้านการก่อสร้างเข้ามาเกี่ยวกับ ซึ่งขึ้นอยู่กับ City และหรือ county ส่วนใหญ่ บางที่เขี้ยวลากดินหรือเข้มงวดมากๆๆ

 

ควรจะคุยกับแลนด์ลอด เพราะเขาจะมีข้อมูลเบื้องต้นให้เราว่าอันไหนเราทำได้ อันไหนเราทำไม่ได้  ให้ระวังงบบานปลายด้วย เพราะถ้าคุณเซ็นสัญญาเช่าแล้ว คุณก้าวออกมาไม่ได้แล้วมีหลายเรื่องที่คุณควรทราบทั้งระบบท่อน้ำทิ้ง ระบบไฟฟ้า สารพัด ทางเข้าออกสำหรับคนพิการ เดี๋ยวเจอคนพิการฟ้องเอาอีกยุ่งเลย พี่ที่รู้จักต้องทำทางเดินให้คนพิการเข้ามา

 

6.) Licenses ลายเซ่นต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับธุรกิจร้านอาหาร

6.1) Business License ส่วนใหญ่เอกสารตัวนี้ต้องขอจาก City ที่ร้านเปิดบริการ

6.2) Sales and Use Tax Certificate เอกสารชุดนี้ขอได้จากรัฐ พร้อมกับ 6.3

6.3) State Unemployment Identification Number ขอได้จากรัฐ พร้อมกับ เอกสารด้านภาษีขาย

6.4) Food safety Certification เอกสารตัวนี้ผู้จัดการ้านอาหารขอได้คะ หรือไม่ก็เจ้าของกิจการ

6.5) Permit from Health Department เอกสารชุดนี้ขอจาก City หลังจากที่ร้านพร้อมก่อนจะเปิดทำการ (ระบุในข้อ 10 ค่ะ ขั้นตอนสุดท้ายก่อนร้านพร้อมจะเปิดบริการ

6.6) Certificate of Fire Department clearance เอกสารชุดนี้ขอจาก Country or City ขึ้นอยู่กับสังกัดคะ ขอพร้อมก่อนเปิดการทำการ

6.7) Alcohol licenses ขอได้จาก City หลังจากที่ได้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีจากทางรัฐคะ

 

ส่วนใหญ่แต่ละรัฐ จะมี one stop services ซึ่งสามารถขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเลขประจำตัวนายจ้างได้พร้อมกันเลย เอกสารต่าง ๆ เหล่านี้สามารถทำไปพร้อม ๆ กันได้ เพราะต้องใช้ในการโอน license ต่าง ๆ กรณีซื้อร้านต่อ หรือไม่จะขอใหม่ต้องใช้เอกสารเหล่านี้

 

ซื้อร้านอาหารไทยเจ้าของเดิม สามารถโอน license ต่าง ๆ  รวมทั้ง alcohol license การโอน การจดทะเบียน ค่าน้ำ ค่าไฟ โอน โทรศัพท์ พวกนี้ทำได้หมดหรือไม่ก็จดทะเบียนใหม่กันไปเลย ถ้าเราไม่ได้ซื้อร้านต่อจากใครเราก็ทำเองได้ ไปที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แลนลอร์ดเป็นแหล่งขอ้มูลที่ดีมาก กรณีแบบนี้

 

7.) Liability Insurances ประกันต่าง ๆ ที่ทาง เจ้าของตึกต้องการ

ก่อนเจ้าของตึกจะให้เราเข้ามาทำธุรกรรมต่างๆ ในตัวอาคาร เช่นการต่อเติม ส่วนใหญ่เขาจะให้เราซื้อประกันต่างๆ ก่อนค่ะ และชื่อผู้รับผลประโยชน์ก็จะเป็นเจ้าของอาคาร แต่เราเป็นผู้จ่ายประกัน. บางเมืองถ้ามีพนักงานมากกว่า 3 คน ต้องซื้อ Worker Compensation Insurance ด้วย อันนี้ตัวแทนประกันเขาจะทราบดี ถามเขาได้ก่อนถามแลนลอร์ดก็ได้เขามีข้อมูลเยอะแนะนำเราได้ตลอด ดีที่สุดถ้าเราซื้อร้านอาหารต่อจากใครถามเจ้าของร้านเดิม

 

8.) Kitchen Equipment and Furniture and fixtures. อุปกรณ์ภายในครัวและเฟอนิเจอร์ในร้าน

กรณีคนที่มีประสบการณ์ในการทำร้านอาหาร จะทราบดีกว่า ต้องมีอุปกรณ์อะไร มีไว้เป็นลิสๆ ให้เลยเยอะมากๆๆ Google search ได้เลยตามลิงค์ Food Service Resource

 

ถ้าคุณไม่มีประสบการณ์เลย คุณควรติดต่อกับคนที่มีประสบการณ์มาช่วยดูอีกทีว่าต้องมีอะไรบ้าง บางเมืองการติดตั้งอุปกรณ์พวก ดูดควัน ดูดท่อน้ำทิ้ง เคร่งครัดมาก ต้องขุดเจาะ นอกร้านระยะห่างประมาณเท่าไร ทราบข้อนี้เพราะอ่านจากสมาชิกในกลุ่มกฏหมาย และมีเพื่อนเปิดร้านอาหารในเมืองเก่าแก่ที่ค่อนข้างเข้มงวดมาก

 

ข้อแนะนำคือ ให้ไปซื้อร้านเดิมที่เขาจะขาย และไม่ต้องทำอะไรมากมายคะ  อย่างน้อยร้านเดิม ก็ผ่านการตรวจมาก่อน และไม่มีปัญหากับเจ้าหน้าที่ อุปกรณ์ตกแต่งร้านต่าง ๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ออกแบบเลยคะ ชอบแบบไหน ถ้าซื้อร้านเดิม อยากใช้ของเดิมจัดไปคะจะได้ประหยัด กรณีงบประมาณไม่มากทำไปสักพักร้านมีกำไร ค่อยทยอยปรับปรุง

 

9.) Menus รายการอาหาร

จำเป็นอย่างยิ่งเตรียมไว้เลย พิมพ์ให้ดูสวยงาม มีโลโก้ร้าน ดูจากร้านเดิมก็ได้หรือไม่ก็ทำขึ้นมาใหม่แบบของคุณเอง การใช้เมนูร้านเดิม จะทำให้คุณได้แนวคิด (กรณี ร้านเดิมเป็นร้านไทย) ด้านราคาเพราะการจะขึ้นราคาอาหาร จะมีผลต่อยอดขาย

ต้องการคิดราคาอาหารเพิ่มควรคิดเมนูใหม่ ๆ ขึ้นมา ที่ลูกค้าไม่รู้จัก ไม่ชิน เขาจะได้ไม่รู้สึกว่า เราคิดราคาเพิ่มดูเรื่องการตลาดให้ดี ไปกินร้านอาหาร ระแวกนั้นหลายๆ ที่เพื่อนำมาประกอบกับการตัดสินใจในการตั้งราคา

 

10.) Health Department หน่วยงานสารธารสุขในพื้นที่

ขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่ร้านจะเปิดดำเนินการได้ เราติดต่อเจ้าหน้าที่ มีการกรอกแบบฟอร์มเพื่อให้เขามาตรวจ ก่อนจะติดต่อกับหน่วยงานนี้ควรจะให้ทำร้านให้เรียบร้อยพร้อมเปิดดำเนินการได้ก่อน เช่นเราคาดว่า อีก 15 วัน ร้านน่าจะพร้อมเพื่อเปิดดำเนินการเริ่มทำเรื่องได้เลยคะ เพราะใช้เวลานานพอสมควรกว่าเจ้าหน้าที่จะเข้ามาทำการตรวจสอบ

 

11.) Accounting for restaurant business การทำบัญชีสำหรับร้านอาหาร

การบัญชีเกี่ยวกับร้านอาหาร จะละเอียดมากกว่ากิจการบริการอื่นๆ เพราะมีรายการทางการค้าทุกวัน รับเงินจากบัตรเครดิตยอดเล็ก ๆ ยิบย่อยเยอะมาก

 

เปิดร้านครั้งแรก ควรวางระบบบัญชีให้เรียบร้อยค่ะ ถ้าเจ้าของร้านจบบัญชีมา สามารถประยุกต์ความรู้ที่มี เพื่อนำไปใช้กิจการได้เลยค่ะ  โปรแกรมที่แนะนำก็จะมีพวก QuickBooks, Peachtree, Quicken พวกนี้ทำบัญชีได้หมดคะ ที่นิยมก็คือ QuickBooks ค่ะ  ไม่แนะนำให้ใช้ Microsoft excel เพราะรายการเยอะพอสมควร ถึงแม้จะแค่ร้านเล็ก ๆ ถ้าไม่ได้จบบัญชีมาให้จ้างนักบัญชีจะได้ไม่พลาด ใครก็ได้ที่ช่วยแนะนำเราได้ ไม่ใช่บัญชีแต่ธุรกิจด้วย

 

นักบัญชีไม่จำเป็นต้องมี license CPA ค่ะ แต่ให้เขาจบบัญชีอย่างน้อย ปริญญาตรีด้านบัญชีมาจากเมืองไทยก็ได้ ใช้ได้หมด ถ้าจะจ้าง Enrolled Agent (EA) ก็ได้แต่คนนั้นควรจะจบบัญชี

 

ดีทีสุดก็ CPA เพราะกว่าจะสอบผ่านไม่ใช่แค่การลงบัญชีต้องรู้หลายๆ เรื่อง ทุกๆ เรื่องเกี่ยวกับธุรกิจกฏหมาย ภาษีอีกอย่าง กลุ่มนี้เขาจะต้องรักษามารยาท เช่น ไม่เปิดเผยความลับของลูกค้าแนะนำลูกค้าให้ทำบัญชีให้ถูกต้อง

 

คำแนะนำในฐานะที่ทำบัญชีให้ร้านอาหาร

ไม่ได้เป็นเจ้าของร้านอาหารเอง แต่ทำบัญชีให้ร้านอาหาร รัฐใหญ่ ๆ ในอเมริกา เช่น California, Florida, Massachusetts, Pennsylvania, Colorado, etc., เห็นร้านที่มีกำไร และร้านที่ขาดทุน มากเยอะพอสมควร มีปัจจัยหลายอย่างไม่ใช่แค่ทำเล ไม่ใช่แค่ราคาอาหาร การดูและพนักงานที่ทำงานในร้านก็สำคัญ มีร้านที่ประสบความสำเร็จจริง ๆ ที่เห็น คือ ดูและพนักงานดีมาก พนักงานทำงานให้เต็มที่ ดูแลลูกค้าดี กิจการมีกำไร

 

หาคนที่มีประสบการณ์มาช่วยจะดีมากสำหรับมือใหม่ เจ้าของร้านอาหารควรจะทำอาหารเป็นด้วย ถ้าคุณประสบความสำเร็จ ได้เงินคืน ภายใน 3 ปีแน่นอน มิได้กล่าวถึงร้านที่ต้องเลิกไป ส่วนใหญ่ที่เห็น คือเอาเงินร้านมาใช้ส่วนตัวมั๊ก ๆ ไม่มีการลงบัญชีที่ถูกต้อง (จริงๆ ลงบัญชีไปจ้างเขาทำ แต่ไม่รู้เขาทำอะไรให้บ้าง ไม่รู้ทำถูกหรือเปล่าอีกต่างหาก) แถมเอาเงินในร้านไปใช้ตลอด ไม่มีการจ่ายชำระภาษี ขายให้ State หารู้ไม่ว่า เงินที่เก็บจากลูกค้านั้น รวมภาษีขายด้วย และเรามีหน้าที่นำส่ง.

 

E-2 Investor Visa

ประเทศอเมริกาเปิดกว้างมากสำหรับนักลงทุนจากต่างประเทศ (ไม่ใช่เฉพาะที่ประเทศไทย) มีวีซ่าลงทุนหลายประเภท ที่ต่างชาติสามารถขอได้ บางวีซ่า ที่มีเงินลงทุนสูงๆ ถึง $1 Millions สามารถขอกรีนการ์ดได้เลยเช่น วีซ่า EB2.

สำหรับ  E-2 Investor Visa เหมาะสำหรับกลุ่มชนชั้นกลางในประเทศไทยของเรานิยมมาลงทุนกันเยอะมาก โดยเฉพาะกิจการร้านอาหาร ที่ขอวีซ่าลงทุนได้ง่ายและสามารถทำเรื่องขอจ้าง chef หรือพ่อครัวแม่ครัวโดยตรงจากเมืองไทยมาได้ทั้งครอบครัว ค่าธรรมเนียมที่ทาง USCIS เรียกเก็บก็ไม่ได้แพงมาก ที่แพง คือค่าดำเนินการด้านเอกสารต่างๆ จากที่พบมาค่าบริการในการดำเนินการประมาณ $8,000 – $10,000 โดยประมาณ พร้อมค่าธรรมเนียมต่าง ๆ.

 

ทำไม E-2 Investor Visa ช่างเป็นที่นิยมอย่างยิ่ง?

ถึงแม้ว่า วีซ่าประเภทนี้ไม่สามารถ เปลี่ยนเป็น กรีนการ์ด ได้ในอนาคต แต่ไม่มีข้อจำกัด ในการต่ออายุ ต่อได้เรื่อยๆ คราวละ 2 ปี ตราบใดที่กิจการมีการยื่นภาษีตามกฏหมายและการรายงานค่าแรง ไปยัง the IRS. นักลงทุนและพ่อครัวหรือแม่ครัวสามารถ ทำวีซ่าติดตามให้กับครอบครัว รวมถึงลูกๆ ที่อายุไม่เกิน 21 ปี ลูก ๆ มีสิทธิ์เข้าโรงเรียนของรัฐบาล ได้เหมือนคนอเมริกัน ทั่วไป ตามที่กฏหมายได้ระบุไว้

 

รูปแบบของกิจการที่นักลงทุนควรพิจารณา LLC or Corporation?

ตามกฏหมายภาษีอาการ ต่างชาติ (บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) สามารถ ทำธุรกรรมทางการเงินได้หลายแบบ ทั้งแบบ Limited Liability Company (LLC) และ หรือ Corporation (C-Corp). ข้อที่ควรทราบคือ Small Corporation (S-Corp) ไม่อนุญาตให้ต่างชาติ ทำได้คะ กฏหมายเขียนไว้อย่างชัดเจนมาก ถ้าปัจจุบันกิจการอยู่ในรูป S-Corp แล้ว ทันทีที่มีผู้ถือหุ้นต่างชาติ จะเป็นโมฆะ กลายเป็น Corporation (C-Corp) ทันทีคะ อ้างอิงที่เว็บไซด์ the IRS คลิกที่ลิงค์ S Corporations Requirement.  ไม่พูดถึงประเภทธุรกิจแบบอื่น ๆ เช่น ทรัส เพราะต้องอ้างกฏหมายภาษีต่างกันคะ.

 

ข้อดีและข้อเสียของการจดทะเบียนบริษัท ทั้ง 2 ประเภท (LLC & C-Corporation).

Limited Liability Company (LLC) แบบแสดงภาษี Form 1065

  • ตามประสบการณ์ การจดทะเบียนง่ายกว่า ส่วนใหญ่ค่าธรรมเนียมจะถูกกว่า แบบ คอรปอเรชั่น แต่ไม่ทุกรัฐนะคะ บางรัฐ เช่น New York แพงกว่าคะ ต้องประกาศทางหนังสือพิมพ์ ยุ่งยากกว่าด้วย และใช้เวลา มากมากว่า 30 วันถึงจะมีผลในทางกฏหมาย
  • ไม่ต้องมีใบหุ้นคะ การแบ่งผลกำไรขาดทุน ตกลงกันได้ใน Operating agreement
  • กำไรและขาดทุน ผ่านตรงมายัง สมาชิก (member) ตามอัตราส่วนที่ระบุไว้ใน Operating agreement
  • ไม่มีภาษีในตัวบริษัท
  • มี self-employment tax at 15% (7.65% employer + 7.65% employee) จากกำไรสุทธิที่แบ่งให้กับสมาชิกในบริษัท เช่น มีสมาชิก 2 คน แบ่งกำไรคนละ $15,000 เสียภาษี self-employment taxes ที่ $2,295 แต่ ครึ่งหนึ่งของภาษีเอามาหักออกจาก ภาษีเงินได้ที่ต้องเสียทั้งหมดได้ที่ $1,147.50 สรุปคือมีภาษีที่ $1,147.50.
  • ไม่สามารถเลือกที่จะยื่นภาษีแบบ S-Corporation ได้ เพราะ มีคนต่างชาติถือหุ้น ถ้าธุรกิจมีกรีนการ์ด หรือ อเมริกัน ร่วมทุนด้วยจะทำให้ ฝ่ายนี้เสียเปรียบเพราะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น.
  • ถ้ามีผู้ถือหุ้นที่อยู่ต่างประเทศ (อยู่อเมริกาต่ำกว่า 183 วัน) เมื่อกิจการมีกำไรต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่ายไว้ที่ 30% ของกำไรสุทธิ ตัวอย่างเช่น กิจการ มีบริษัทต่างชาติ หรือ คนไทยที่อยู่นอกอเมริกา ถือหุ้นด้วย ถึงแม้จะไม่มีการจ่ายเงินผลกำไรออกไป บริษัทมีหน้าที่หัก ภาษี ณที่จ่ายไว้และนำส่งไปยัง the IRS. (ยุ่งยากมากขึ้นเลย ลูกค้าเราไม่จด LLC คะ จดอีกแบบให้)

 

Corporation (C-Corp) แบบแสดงภาษี Form 1120

  • ตามประสบการณ์ การจดทะเบียนมีขั้นตอนมากกว่า จดแบบ LLC และค่าธรรมเนียมจะมากกว่า เช่น ที่ แคลิเฟอเนีย รัฐอื่นๆ เช่น อริโซน่า ไม่แตกต่างกันเลย ส่วน ยูท่าร์ ไม่แตกต่างกันมาก เช่นกัน บางรัฐต้องประกาศทางหนังสือพิมพ์ และใช้เวลา มากมากว่า 30 วันถึงจะมีผลในทางกฏหมาย
  • ต้องมีใบหุ้นคะ การแบ่งผลกำไรขาดทุน ตามหุ้นที่ถือ การจ่ายผลกำไรออกไปเรียกว่าการจ่ายเงินปันผล
  • กำไรสุทธิ จากการกิจการต้องเสียภาษีที่ อัตรา 30% – 34%
  • เงินปันผลที่จ่ายให้ผู้ถือหุ้น ถือเป็นรายได้เงินปันผลของผู้ถือหุ้น และต้องนำไปรวมในการคำนวณภาษี รวมกับรายได้ประเภทอื่น ๆ เงินปันผล ถ้าถือหุ้นมากกว่ากว่า 1 ปี เรียกว่า long term capital gain อัตราภาษีจะอยู่ที่ 15% – 20% ถ้าไม่มีการจ่ายเงินปันผลจะไม่มีภาระภาษีในจุดนี้คะ
  • ไม่มี self-employment tax at 15% เหมือนกับ LLC ดังนั้น ผู้ถือหุ้นที่มีกรีนการ์ด และอเมริกัน ไม่เสียเปรียบในเประเด็นนี้.
  • ไม่สามารถเลือกที่จะยื่นภาษีแบบ S-Corporation ได้ เพราะ มีคนต่างชาติถือหุ้น ถ้าธุรกิจมีกรีนการ์ด หรือ อเมริกัน.
  • ไม่ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่ายไว้ที่ 30% ของกำไรสุทธิกรณีมีผู้ถือหุ้นต่างชาติเหมือนกับ LLC

 

จดทะเบียนบริษัทแบบไหนดี (ความเห็นส่วนตัว)

ลูกค้าส่วนใหญ่มีการจดทะเบียนทั้ง สองแบบคะ เพราะไม่ได้เป็นคนจดทะเบียนให้เขา ลูกค้าทำกันเอง มีกรณีที่ลูกค้ามาใช้บริการทำเอกสาร E-2 Investor Visa จะมีการคุยกันก่อนทั้งข้อดีและข้อเสีย ล่าสุดจดทะเบียนที่รัฐ Florida as Corporation (C-Corp) ให้ลูกค้าคะ เพราะมีผู้ถือหุ้นเป็นพลเมืองที่นี่ และง่ายในการออกใบหุ้น การจดแบบ LLC ที่รัฐเดียวกันก็ไม่ยุ่งยากอะไรคะ ที่เลือกจดแบบ C-Corp เพราะ รู้ว่ากิจการมีการจ่ายเงินเดือนให้กับเจ้าของกิจการและมีการจ้าง chef พ่อครัวแม่ครัวมาจากเมืองไทย และพนักงานทุกคนในร้านพยายามยื่นภาษีให้ถูกต้อง และไม่คาดว่ากิจการจะมีผลกำไรมากหมาย ช่วง สามปีแรก ตามที่ได้ประมาณการไว้ ถึงแม้ว่ามีผลกำไร ก็คงยังจะไม่มีการจ่ายเงินปันผล เพื่อหลีกเลี่ยง การเสียภาษีซ้ำซ้อน และทราบว่าในอนาคตทางลูกค้าจะมีการขยายกิจการ และมีการออกหุ้นเพิ่ม หรือ ขายกิจการปัจจุบันเพื่อซื้อกิจการแห่งใหม่.

 

การเลือกรูปแบบการจดทะเบียนบริษัท ควรมีการวางแผนคะ ว่า แนวทางของธุรกิจจะออกมาในรูปแบบไหน มีคนอเมริกัน หรือ กรีนการ์ดร่วมหุ้นด้วยหรือไม่ และการวางแผนระยะยาวจะทำอย่างไร

 

อเมริกัน (US Citizen) หรือ กรีนการ์ด (Green card holder) ต้องการลงทุนกับ E-2 Investor

ควรจะเลือกจดทะเบียนแบบ C-Corp คะ เพราะป้องกันการเสีย self-employment taxes เว้นแต่ว่าคุณลงทุนเอง กรณีนี้คุณสามารถเลือก S-Corp ได้ จะจดแบบ LLC or C-Corp แล้วเลือกยื่นภาษีแบบ S-Corp ได้ทั้งสองกรณีคะ มีค่าเท่ากัน และก็มีผลดีซะส่วนใหญ่ ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่รัฐไหนคะ ผลประโยชน์ในการจดทะเบียนแตกต่างกันออกไป

 

Visa ประเภทไหน ที่สามารถใช้สิทธิ์ยื่นภาษีแบบ เรสสิเด้นตามกฏหมายภาษีได้

ทุกวีซ่าเปลี่ยนเป็น E-2 Investor ได้หมดคะ ถ้าอยู่ที่นี่แล้วสามารถทำเรื่องเปลี่ยนสถานะได้ง่ายกว่าคะ ส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกเรียกตัวเพื่อเข้าสัมภาษณ์ แค่ขอเอกสารเพิ่มเติมก่อนที่จะอนุมัติให้วีซ่าได้ แต่มีข้อแม้ว่า ห้ามอยู่เกิน สถานะวีซ่าต้องไม่ขาด Overstayed ไม่ได้เลยคะ

 

ไม่ต้องการเปลี่ยนวีซ่าเป็นนักลงทุนก็ได้คะ แต่ถ้ามาด้วยวีซ่า “F”, “J”, “M”, or “Q  กลุ่มนี้ยังไงก็ใช้สิทธิการเสียภาษีแบบ เรสสิเด้น (resident) ไม่ได้เลย กฏหมายตั้งข้อยกเว้นไว้ชัดเจน เช่นวีซ่านักเรียน F1 ไม่ต้องเสียประกันสังคม ถ้ามาทำงาน แต่ถ้าลงทุนในธุรกิจประเภท LLC เมื่อกิจการมีกำไรสุทธิ กิจการมีหน้าที่หัก ภาษี ณ ที่จ่ายไว้ที่ 30% พร้อมนำส่งไปยัง the IRS คะ   กฏหมายอ้างอิงตามลิงค์ คะ Foreign Persons  เรสสิเด้นไม่ใช่แค่กรีนการ์ดนะคะ วีซ่าตัวอื่นๆ ก็ถือว่าเป็นเรสสิเด้น อยู่เกินก็เรสสิเด้นคะ ถ้าอยู่อเมริกามากกว่า 183 วัน ตามกฏ Present Test คะ อ่านเพิ่มเติมได้คะ ตามลิงค์Publication 519, U.S. Tax Guide for Aliens.

 

คุณสมบัติของ E-2 Investor Visa

  • นักลงทุน เป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลต่างประเทศ ที่มีอนุสัญญา ระหว่างประเทศ อเมริกา ประเทศไทยรวมอยู่ด้วยค่ะ ส่วนใหญ่ประเทศในเอเชีย มีคุณสมบัติทำวีซ่าประเภทนี้ได้ รวมถึง ใต้หวัน เกาลี  อาจจะมีมากกว่านี้คะ ต้องดูเป็นประเทศไป  ยุโรปก็เยอะด้วยคะ
  • ต้องเป็นพลเมืองของประเทศนั้น ๆ เช่น เราคนไทย มาลงทุน หรือ บริษัทที่จดทะเบียนที่ประเทศไทย
  • กรณีบริษัทไทยมีผู้ถือหุ้นต่างชาติ คนไทยต้องมีหุ้นมากกว่า ครึ่งค่ะ ถึงได้สิทธิ์ขอวีซ่าประเภทนี้
  • นักลงทุนต้องเข้ามาประเทศอเมริกา เพื่อบริหารกิจการค่ะ
  • กรณีเราจะนำ Chef พ่อครัว หรือแม่ครัว บุคคลเหล่านั้นต้องเป็นคนสัญชาติเดียวกับ นักลงทุนคะ เช่น เราคนไทย นำ พ่อครัวแม่ครัวคนไทยมาได้เท่านั้น

*ภรรยา หรือ สามี ของ นักลงทุน และ พ่อครัว หรือ แม่ครัว สามารถ ขอวีซ่าทำงานได้แบบถูกกฏหมาย และสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ค่ะ ไม่จำเป็นต้องเป็นที่เดียวกับนักลงทุน  ส่วนลูก ๆ ไม่อนุญาตให้ขอวีซ่าทำงานค่ะ (เนื่องจากทาง USCIS ไม่ได้ระบุให้ขอได้ จึงคิดว่าขอไม่ได้ค่ะ)

 

เงินลงทุน Funding

ข้อกำหนดเกี่ยวกับเงินลงทุนมีปลีกย่อยเยอะพอสมควร USCIS ระบุไว้บางอย่างชัดเจน บางอย่างไม่ชัดเจน แหวนแสดงความเห็นตามประสบการณ์ในฐานะนักบัญชี

  • เงินลงทุนนั้น ต้องเพียงพอที่จะลงทุน และเพียงพอต่อการบริการกิจการอย่างต่อเนื่อง คือถ้าลงทุนไปแล้ว ถ้ามีผลขาดทุน เราก็ทำอะไรไม่ได้มาก เช่น เราลงทุนในการสร้างโรงงานเพื่อผลิต สินค้าส่งออก เราทำแผนการตลาดผิดพลาด เราขาดทุน ยับเยิน เงินนั้นก็สูญ USCIS ใช้คำว่า “funds have to be “irrevocably” . (ไม่ใช่กรณี เราซื้อหุ้น แล้วไม่พอใจในหุ้น เราเปลี่ยนไปซื้อหุ้นตัวใหม่ หรือขายหุ้นออกมา)
  • ต่อเนื่องจากที่กล่าวมา เงินลงทุนประเภท ตราสารหุ้น การเก็งกำไร (Speculate) ไม่ได้เลย เช่น ลงทุน พวก อสังหาริมทรัพย์ บ้านเช่า ซื้อขายหุ้น ซื้อที่ดินเปล่า เพื่อเก็งกำไร แต่ถ้าซื้อที่ดินมาเพื่อสร้างตึก สร้างบ้านนี่ได้นะค่ะ ไม่ใช่ซื้อที่ดินทิ้งไว้ สรุปคือ ต้องลงทุนใน Active investment NOT Passive Investment.
  • ต้องทำแผนธุรกิจที่ระบุว่ากิจการจะมีผลกำไรในอนาคต ไม่ใช่แค่พอดูแลครอบครัวหรือแค่จ่ายเงินเดือนให้พนักงานเพียงพอ Financial ratio ต้องทำไว้ในแผนธุรกิจ return on investment ต้องเหมาะสม กรณีลูกค้าแหวนจะดูถึงความเป็นไปได้ ถ้าเป็นการซื้อกิจการที่มีอยู่แล้ว เช่นร้านอาหารเดิม จะใช้ยอดขายเดิม และก็วางแผนว่าจะเพิ่มยอดขายขึ้นเพื่อกิจการจะได้มีกำไรในอนาคต. โดนทั่วไป ทุกกิจการที่ลงทุนใน ช่วง 1-3 ปีแรก จะไม่มีผลกำไรมากมายเพราะลงทุนสูง บางกิจการมีกำไรตั้งแต่ปีแรก ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่ต้องมาพิจารณา. การเขียนแผนธุรกิจ Business plan ต้องมีการวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง คู่แข่ง SWOT analysis ขึ้นอยู่กับกิจการ ที่จะลงทุน. กิจการประเภทนำเข้าส่งออกจะแตกต่างกับร้านอาหารพอสมควร และการวิเคราะห์จากยากกว่า (ตามประสบการณ์ที่เห็นมา)
  • นักลงทุนต้องมีอำนาจในการควบคุมเงินลงทุนของกิจการ ตัวอย่างเช่นเงินที่นำมาลงทุน ต้องไม่ใช่เงินกู้ทั้งหมด ถ้าใช้กิจการเพื่อค้ำประกันในวงเงินกู้ จะไม่มีคุณสมบัติในการขอวีซ่าประเภทนี้ ฉะนั้นแหล่งที่มาของเงินต้องเป็นเงินของนักลงทุนเอง หรือเงินที่ได้มาจาก ครอบครัว และไม่มีภาระในการจ่ายคืน กรณีกู้ยืมกันเองภายในครอบครัว ไม่ควรจะแสดงว่ายืมในทางเอกสาร ถ้าจะคืนเงินให้ครอบครัว ให้ใช้วิธีการให้แบบเสน่หา ซึ่งให้ได้ไม่เกินปีละ $14,000/year (ชี้โพรงให้กระรอกนิดหน่อย อิอิ). ทางรัฐบาลไม่ได้กำหนดถึงการห้ามการกู้เงิน การกู้ต้องอยู่ในอัตรส่วนที่เหมาะสม ทุกธุรกิจมีการกู้ยืมเงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน แต่ไม่ควรเกิน 40% of total funding เช่น ลงทุน $100,000 กู้ได้ไม่เกิน $40,000

 

เมื่อวีซ่าการลงทุนสิ้นสุด E2 Termination

นักลงทุนต้องออกจากประเทศ เช่น รัฐบาลจะให้นักลงทุนขออนุญาต อยู่ต่อทุก ๆ 2 ปี กรณีที่รัฐบาลไม่อนุมัติให้ต่อวีซ่า นักลงทุนต้องออกจากประเทศทันที

 

ถ้าพนักงานระดับบริหารเช่น chef หรือพ่อครัวแม่ครัว หนีวีซ่าละควรทำอย่างไร

กรณีแบบนี้ นายจ้างต้องแจ้งยกเลิกไปทาง รัฐบาล และพนักงานต้องออกจากประเทศตามที่ตกลงไว้ เว้นแต่ว่า พนักงาน ได้งานใหม่และทำงานให้นักลงทุน และนักลงทุน สปอนเซ้อวีซ่าให้ถูกต้อง พนักงานถึงมีสิทธิ ทำงานและอยู่ในประเทศแบบถูกกฏหมายได้.

 

ธุรกิจอะไรบ้างที่ทางประเทศสหรัฐอเมริกา อนุญาตให้ลงทุนได้

มีธุรกิจหลายประเภท ที่อนุญาต ให้ลงทุน อาจจะเกือบทุกประเภท เช่น ร้านอาหาร ร้านนวด ขายของ นำเข้า ส่ง ออก ผลิต สารพัด   ทางรัฐบาลไม่ได้ตั้งข้อกำหนดถึงประเภทกิจการที่จะลงทุน

 

ธุรกิจที่ไม่สามารถขอวีซ่านักลงทุนได้

รัฐบาลได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าธุรกิจประเภทเก็งกำไร (Speculation) ไม่อยู่ในคุณสมบัต เช่น การซื้อขายหุ้น การซื้อบ้านที่ดิน เพื่อเก็งกำไร การซื้อขายที่ดิน ที่ไม่ได้หวังจะปรับปรุง ก่อสร้าง Passive investment จะไม่อยู่ในข่าย.

 

ต้องการมาลงทุนที่อเมริกา ด้วยวีซ่า ประเภทนี้ควรเตรียมตัวอย่างไร

เนื่องจากทาง รัฐบาลอเมริกา ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนทุกประเด็น แม้กระทั่งเงินทุนขั้นต่ำที่นักลงทุนต้องนำมาลงทุน แต่รัฐบาลได้พูดถึงกิจการขนาดเล็ก ที่จัดอยู่ในวีซ่าประเภทนี้ (ตามที่ศึกษาโดยทั่วไป กิจการที่เรียกว่าเป็นธุรกิจขนาดเล็ก คือมีเงินลงทุนต่ำกว่า $100,000)

 

กิจการขนาดใหญ่เช่นวีซ่า EB5, EB2 ที่มีเงินลงทุนขั้นต่ำที่ $1 Millions หรือ ลงทุน $500,000 สำหรับกิจการที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (ซื้อกิจการต่อหรือร่วมทุนกับกิจการที่ดำเนินการอยู่แล้ว)

  1. เลือกประเภทกิจการที่จะลงทุน เช่น ต้องการซื้อร้านอาหาร ควรจะเลือกทำเล ราคาที่ขายเหมาะสมหรือไม่ ปัจจัยการเลือกซื้อร้านต้องดูทำเล ดูกลุ่มลูกค้า ดูรายได้ของกลุ่มลูกค้าในทำเลนั้น ทำเลสวย ราคาแพง ทำเลปาน ราคาอาจจะถูกลง
  2. การทำ due diligence หรือการตรวจสอบธุรกิจก่อนการซื้อ ตรวจสอบภาษีที่ค้าง การวิเคราะห์งบการเงินเพราะต้องใช้มาทำแผนธุรกิจ
  3. การทำสัญญาซื้อขาย ให้รัดกุมและป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น ทำสัญญาซื้อขาย กรณีที่มีการซื้อกิจการ 100% อย่างน้ำคือ 50% มีกรณีที่ไม่ได้ทำสัญญาซื้อขาย เจ้าของร้านเดิม ขายร้านแล้วมาเปิดแข่งกับกิจการปัจจุบันซึ่งอยู่ในทำเลเดียวกัน ต้องป้องกันจุดนี้ด้วยค่ะ
  4. ถ้ากิจการจดทะเบียนรูปแบบ Corporation มีการทำการออกหุ้นเพิ่ม หรือการโอนหุ้นระหว่างผู้ถือหุ้นเดิมและนักลงทุน (วิธีนี้เหมาะสม สำหรับกิจการที่มีพี่น้องร่วมทุน) ถ้ากิจการเดิม จดทะเบียนรูปแบบอื่น ๆ ให้ตั้งบริษัทขึ้นมาเพื่อซื้อกิจการ  แนะนำให้ตั้งบริษัทใหม่ทุก ๆ กรณี เพื่อหลีกเลี่ยงภาระภาษี หรือหนี้ค้างต่าง ๆ
  5. การตรวจสอบ ลายเซ่นการกอบธุรกิจต่าง ๆ ก่อนซื้อ เช่น ลายเซ่นการขาย แอลกอฮอลล์
  6. การวางแผนเกี่ยวกับการชี้แจงแหล่งที่มาของเงิน อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น เงินทุนต้องไม่ใช่มาจากการกู้ยืมทั้งก้อน กู้ได้แต่ห้ามเกิน อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ 40% มีการแสดงรายละเอียดการนำเงินเข้ามาลงทุน ที่มาที่ไปของเงิน
  7. ที่เห็นกันคือ พี่ให้น้อง น้องให้พี่ แม่ให้ลูก หรือเรียกว่าของขวัญ ให้ระวังกรณีที่พี่ให้น้อง แล้วพี่เป็นเจ้าของกิจการที่อเมริกา และต้องการให้น้องมาลงทุน ของขวัญจากพ่อแม่ให้ลูก ๆ เพื่อใช้ในการลงทุน ถือว่าเป็นเรื่องปกติ และไม่มีปัญหาในการอนุมัติวีซ่าจากกงศุลที่ประเทศไทย หรือจาก เจ้าหน้าที่ที่อเมริกา.
  8. การเตรียมตัวเรื่องเอกสารต่าง ๆ เช่น การแปลเอกสาร ทะเบียนราษฎ์ การแปล หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย การแปลแบบแสดงรายการภาษี หรือเงินกู้ต่างๆ

ทำเอกสารขอวีซ่านักลงทุนเอง หรือ ใช้ทนายดี

ถ้าคุณภาษาอังกฤษคล่อง เขียนแบบภาษาราชการได้ และเข้าใจภาษาอังกฤษดี มีพื้นฐานทางธุรกิจ คุณสามารถทำเรื่องเองได้ค่ะ ศึกษาขั้นตอนให้ละเอียด โดยตรงจากเวบไซด์ของ USCIS หรือ จากทางเวบของสถานทูตอเมริกาได้ กรณีที่ขอวีซ่าจากเมืองไทย

 

ถ้าไม่มีคุณสมบัติข้างต้น ควรจะใช้บริการของทนาย หรือจากผู้ที่มีประสบการณ์ ก่อนจะใช้บริการจากทนาย หรือผู้มีประสบการณ์ควรศึกษาข้อมูล หรือประวัติของบุคคลเหล่านั้น

 

การเปรียบเทียบราคาค่าบริการ กับบริการที่จะได้รับควรมีการตรวจสอบด้วย

 

เช่น ทนายคิดค่าบริการขั้นต่ำที่ $5,000 ในการยื่นเอกสาร เราต้องทำแผนธุรกิจ Business plan ทำสัญญาซื้อขาย Buy Sell agreement  จดทะเบียนบริษัท Forming business , และ ทำ due diligence ด้วยตัวเราเอง และที่สำคัญเราต้องหาผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เพื่อเซ็นรับรองสินทรัพย์ของกิจการที่ซื้อเองด้วยนั้น ส่วนตัวคิดว่าไม่คุ้มค่ะ ถ้าคุณสามารถทำทุกอย่างเองได้ขนาดนี้ให้ทำเองดีกว่าค่ะ ประหยัดเงิน

 

สำหรับการใช้บริการของกลุ่มที่ไม่ใช่ทนายความเช่นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เราก็ควรจะตรวจสอบคุณสมบัติและความน่าเชื่อถือด้วยค่ะ เพราะ ถึงแม้ว่ากฏหมายด้านจรรยาบรรณฉบับเดียวกันทั่วประเทศ คนนำไปประยุกต์ใช้และตีความยังแตกต่างกันออกไป

 

ขอบคุณบทความดีๆ อย่างนี้จากเว็บไซต์ www.thaiusaconsulting.com โดยนางแหวนเพ็ชร วังคีรี โรลล์ (ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต) ที่เปิดธุรกิจให้ความช่วยเหลือ แก่ชุมชนคนไทย ในอเมริกา ตั้งแต่ปี 2012 ทางด้านภาษีและธุรกิจทั่วไปสำหรับข้อมูลเรื่องวีซ่า E-2 แบบเจาะลึกที่ตอบข้อสงสัยนักลงทุนที่คิดจะสมัครวีซ่านี้ 

Visitors: 37,960