บริการเขียนแผนการตลาด Marketing Plan
2.บริการเขียนแผนการตลาด Marketing Plan
เราเป็นทีมงานที่มีประสบการณ์ตรงจากหลากหลายธุรกิจ โดยเราให้บริการงานที่ปรึกษาด้าน แผนการตลาดMarketing Plan อาทิเช่น การเขียนการตลาด Marketing Master plan ด้านการวางแผนการตลาด การวางระบบและการออกแบบแผนการทำการตลาดทุกช่องทางตลาด การจัดทำงบประมาณด้านการตลาด และการวางแผนการใช้งบประมาณ การเขียนระบบแผนงานและขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านการตลาด พร้อมให้บริการท่านด้วยความเป็นมืออาชีพ ในราคาสมเหตุสมผล
โครงสร้างการเขียนแผนการตลาด ประกอบด้วยประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. บทสรุปสำหรับผู้บริหารและเนื้อหาของแผน (executive summary) เป็นการสรุป 2-3 หน้า เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบริษัทและอธิบายแผนการตลาด ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่บริษัทเสนอขาย ตลาดเป้าหมายของบริษัท ระดับการขายและกำไรที่คาดว่าจะได้และใครเป็นคู่แข่งขัน ตลอดจนกำหนดส่วนผสมทางการตลาดและกลยุทธ์ ผู้บริหารระดับสูงมักอ่านส่วนนี้ก่อน ถ้าอ่านแล้วไม่สนใจก็จะไม่อ่านแผนส่วนที่เหลือ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก
2. การวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดในปัจจุบัน (current marketing situation) เป็นการนำเสนอข้อมูลภูมิหลังของตลาด ผลิตภัณฑ์ คู่แข่งขัน การจัดจำหน่ายและสิ่งแวดล้อมมหภาค เช่น
2.1 สถานการณ์ด้านตลาด เป็นการนำเสนอข้อมูลของตลาดเป้าหมาย ขนาดและความเติบโตของตลาด มีการแสดงให้เห็นตัวเลข หลายปีที่ผ่านมาและยังมีข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้า การรับรู้และแนวโน้มพฤติกรรมการซื้อ
2.2 สถานการณ์ด้านผลิตภัณฑ์ เป็นการนำเสนอยอดขายสินค้า (ในรูปจำนวนหน่วยและจำนวนเงิน) ในหลายปีที่ผ่านมา ราคา กำไรขั้นต้นและกำไรสุทธิ
2.3 สถานการณ์ด้านการแข่งขัน เป็นการระบุคู่แข่งขันรายสำคัญ (คู่แข่งขันทางตรง คู่แข่งขันทางอ้อม) ขนาดคู่แข่งขัน เป้าหมาย ส่วนครองตลาด จุดแข็งจุดอ่อน คุณภาพผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ทางการตลาด และพฤติกรรมของคู่แข่งขัน
2.4 สถานการณ์ด้านการจัดจำหน่าย เป็นการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับขนาด และความสำคัญของช่องทางจำหน่ายแต่ละช่องทาง
2.5 สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมมหภาค เป็นการอธิบายแนวโน้มของสิ่งแวดล้อมมหภาคอย่างกว้าง ๆ เช่น ประชากรศาสตร์ เศรษฐกิจ เทคโนโลยี การเมือง กฎหมาย สังคมและวัฒนธรรมซึ่งสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ถือว่าเป็นโอกาสและอุปสรรคต่อการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด
3. การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) เป็นการระบุถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ที่กระทบต่อสายผลิตภัณฑ์
3.1 จุดแข็ง (strengths) เป็นความแข็งแกร่งที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายใน เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสมการตลาด / การเงิน / การผลิต / บุคลากร / การบริหารงาน และการจัดองค์กร
3.2 จุดอ่อน (weakness) เป็นปัญหาที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายในด้านต่าง ๆ ของบริษัท บริษัทจะต้องหาวิธีการแก้ปัญหานั้น
3.3 โอกาส (opportunities) เป็นข้อได้เปรียบซึ่งวิเคราะห์จากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่บริษัทแสวงหาโอกาสเพื่อมากำหนดกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมนั้น ประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมจุลภาค (ลูกค้า คู่แข่ง ผู้ผลิต คนกลาง) และสิ่งแวดล้อมมหภาค (ประชากรศาสตร์ เศรษฐกิจ เทคโนโลยี สังคมวัฒนธรรม การเมือง กฎหมายทรัพยากรธรรมชาติ)
3.4 อุปสรรค (threats) เป็นอุปสรรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและแก้ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
4. การกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด (marketing objective) เป็นการตัดสินใจกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนการตลาด สามารถกำหนดได้ 2 ลักษณะ คือ
4.1 วัตถุประสงค์ด้านการเงิน (financial objective) เช่น ต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนของตลาดเป้าหมาย 20% ต้องการกำไรสุทธิ 10 ล้านบาทในปี 2563 ต้องการส่วนครองตลาด 30% ในปี 2564 เป็นต้น
4.2 วัตถุประสงค์ด้านการตลาด (marketing objective) เช่น วัตถุประสงค์ในการขาย การวางตำแหน่งเพื่อการแข่งขัน สร้างความภักดีในตราสินค้า สร้างการรับรู้ในตราสินค้าจาก 25% เป็น 35% เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายอีก 30% เป็นต้น
5. การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด (marketing strategy)
5.1 STP Marketing
- การแบ่งส่วนตลาด (segmentation)
- รูปแบบการแบ่งส่วนตลาด ความชอบเหมือนกัน / กระจัดกระจาย / เกาะกลุ่ม
- เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาด เกณฑ์ภูมิศาสตร์ / ประชากรศาสตร์ / ลักษณะจิตวิทยา / พฤติกรรม
- การกำหนดตลาดเป้าหมาย (targeting)
- ภาพรวมกลุ่มตลาดเป้าหมาย
- พฤติกรรมผู้บริโภค
- กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลัก
- กลุ่มลูกค้าเป้าหมายรอง
- การวางตำแหน่ง (positioning)
- การวางตำแหน่งจากลักษณะ (positioning by attribute) ผูกสินค้ากับลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ลักษณะสินค้าเชื่อถือได้ ปฏิบัติงานได้ดี
- การวางตำแหน่งจากคุณประโยชน์ (positioning by benefits) ผูกสินค้ากับคุณประโยชน์พิเศษที่ลูกค้าจะได้รับ
- การวางตำแหน่งจากการใช้ (positioning by use)
- การวางตำแหน่งโดยอิงผู้ใช้ (positioning by user)
- การวางตำแหน่งโดยอิงคู่แข่งขัน (positioning by competitor)
- การวางตำแหน่งจากคุณภาพ/ราคา (positioning by quality/price)
5.2 Marketing Mix
- กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ การกำหนดตราสินค้า (brand) คำขวัญ (slogan) โลโก้ (logo) บรรจุภัณฑ์ (packaging) ฉลาก (label)
- กลยุทธ์ราคา การกำหนดวัตถุประสงค์ นโยบาย และกลยุทธ์การตั้งราคา
- กลยุทธ์การจัดจำหน่าย การกำหนดช่องทางการจัดจำหน่าย (ช่องทางตรง ช่องทางอ้อม) ประเภทคนกลางและการควบคุมคนกลาง การปรับปรุงช่องทางการจัดจำหน่าย และการกระจายสินค้า (การขนส่ง การคลังสินค้า การควบคุมสินค้าคงเหลือ เป็นต้น)
- กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด การโฆษณา (สื่อโฆษณา งบประมาณการโฆษณา ฯลฯ) การประชา-สัมพันธ์ (การให้ข่าว การจัดเหตุการณ์พิเศษ กิจกรรมบริการชุมชน ฯลฯ) การขายโดยบุคคล (การกำหนดค่าตอบแทน การจูงใจ การควบคุม การประเมินผล ฯลฯ) การส่งเสริมการขาย (มุ่งสู่ผู้บริโภค มุ่งสู่คนกลาง มุ่งสู่พนักงานขาย) และการตลาดทางตรง (จดหมายตรง การตลาดทางโทรศัพท์ การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น)
6. โปรแกรมเกี่ยวกับการปฏิบัติ (action program)
เป็นการแสดงว่าแผนการตลาดนั้นจะมีโปรแกรมการตลาดที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างไร วัตถุประสงค์ : กลยุทธ์ทางการตลาด : ปฏิบัติการ : ยุทธวิธีต่าง ๆ ที่ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ใช้กับตลาดเป้าหมาย การปฏิบัติต้องตอบคำถามว่าจะทำอะไร? จะทำเมื่อใด? ใครเป็นคนทำ? ต้นทุนที่จะจ่ายเท่าไร? ผู้รับผิดชอบ : ฝ่ายที่ต้องดำเนินการ
7. งบกำไรขาดทุนโดยประมาณการ (projected profit-and-loss statements) เป็นการสร้างงบประมาณสนับสนุนแผนการตลาด งบประมาณนี้แสดงยอดที่ได้จากการพยากรณ์ กำหนดเป็นหน่วยที่ขายได้โดยประมาณและราคาโดยเฉลี่ย การคาดคะเนงบกำไรขาดทุนนี้จะเป็นแนวทางให้ ทราบว่ารายได้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดเป็นเท่าใด ข้อมูลเหล่านี้เป็นแนวทางในการวางแผนและการตัดสินใจลงทุน
8. การควบคุม (controls) เป็นส่วนสุดท้ายของแผนการตลาด เป็นการตรวจสอบความก้าวหน้าของแผนวัดผลการทำงานทางการตลาดโดย ใช้การวิเคราะห์ยอดขาย กำไร ส่วนครองตลาด ฯลฯ บางบริษัทอาจบรรจุแผนฉุกเฉิน (emergency plan) ไว้ด้วยเพื่อสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การประท้วงหยุดงาน หรือ การเกิดสงครามราคา วัตถุประสงค์ของการกำหนดแผนฉุกเฉิน เพื่อกระตุ้นให้ผู้จัดการคำนึงถึงอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตล่วงหน้า การควบคุมแผนการตลาดประจำปี